ประวัติพันธุ์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นผู้นำในสร้างพันธุ์ “ข้าวหอมมะลิ+4” ที่สามารถต้านทานโรคขอบใบแห้ง โรคไหม้คอรวง เพลี้ยกระโดด และทนน้ำท่วมฉับพลันได้พร้อมๆกัน โดยใช้เวลาเพียง 4 ปี ได้นำเอายีนจำนวนมากกว่า 10 ตำแหน่ง มาในช่วงเวลาเดียวกันทีมนักปรับปรุงพันธุ์ข้าวแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ยังได้สร้างพันธุ์ข้าวหอมนาชลประทานที่รวมยีนกว่า 10 ตำแหน่งเดิมนี้มาไว้ในข้าวหอมปิ่นเกษตร+4 ที่มีผลผลิตสูงกว่า 1 ตันต่อไร่ และมีดัชนีน้ำตาล ต่ำกว่าข้าวบัสมาติที่มีชื่อเสียงในเรื่องดัชนีน้ำตาลต่ำของอินเดีย ข้าวหอมปิ่นเกษตร+4จะเป็นความหวังของชาวนาในเขตชลประทานที่ต้องการพันธุ์ข้าวที่มีเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค
ลักษณะประจำพันธุ์
ข้าวปิ่นเกษตรเป็นลูกผสมระหว่างข้าวขาวดอกมะลิ 105 กับข้าวทนแล้ง เป็นข้าวขาว มีกลิ่นหอม นุ่มเหนียว ข้าวกล้องมีความนุ่มนวล มีเมล็ดยาวกว่า 8 มม.
คุณค่าทางโภชนาการ
ข้าวชนิดนี้ เมื่อทำเป็นข้าวกล้องจะได้ความเป็นประโยชน์ของธาตุเหล็กดี กล่าวคือเมื่อนำมาหุงสุกรวมกับข้าวพันธุ์อื่น จะช่วยให้ความเป็นประโยชน์ของธาตุเหล็กสูงขึ้นซึ่งให้ผลสอดคล้องกันทั้งการทดสอบในระดับเซลล์และในมนุษย์