ข้าวสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI)

ศูนย์ข้อมูลข้าวตลาดเฉพาะ

ข้าวสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI)

ข้าวสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์

ข้าวสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์หรือข้าวจีไอ (Geographical Indication ย่อว่า GI) ถือเป็นข้าวที่ถูกขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์พ.ศ. 2546 เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของคนในชุมชนที่เกี่ยวข้องกับภูมิศาสตร์นั้นมีเอกลักษณ์และภูมิปัญญาของคนในชุมชนในการผลิตสินค้า โดยชื่อที่ใช้เรียกสินค้าข้าวนั้น ต้องได้รับการขึ้นทะเบียน GI เรียบร้อยแล้ว เช่น ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง เป็นต้น

 

โดยปัจจุบันข้าวสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์มีทั้งหมด 15 สายพันธุ์

รายชื่อพันธุ์ข้าวตลาดเฉพาะ

ข้าวก่ำล้านนา

ข้าวก่ำล้านนา (Khao Kum Lanna) หมายถึงข้าวเหนียวที่มีเมล็ดสีดำ ที่ได้จากข้าวก่ำพันธุ์ดอยสะเก็ด ข้าวก่ำพันธุ์อมก๋อย ข้าวก่ำพันธุ์พะเยา และข้าวก่ำพันธุ์พื้นเมือง ซึ่งเป็นข้าวเหนียวดำไวต่อช่วงแสง ปลูกในฤดูนาปี ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด คือ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง  ลำพูน แพร่ น่าน พะเยา และแม่ฮ่องสอน

อ่านต่อ
ข้าวสังข์หยด เมืองพัทลุง

ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง ( Sangyod Maung Phatthalung Rice ) หมายถึง ข้าวเจ้าพันธุ์สังข์หยด เป็นข้าวเจ้า พื้นเมืองพันธ์เบา ข้าวนาสวน ไวต่อช่วงแสง ปลูกฤดูนาปีในเขตพื้นที่จังหวัดพัทลุง ข้าวเปลือกมีเปลือกสีฟาง ข้าวกล้องมีสีแดงจนถึงแดงเข้มในเมล็ดเดียวกัน  ข้าวสารเป็นข้าวที่มีเมล็ดสีขาวปนแดงหรือสีชมพู รูปร่างเรียวเล็ก

 

อ่านต่อ
ข้าวหอมมะลิดินภูเขาไฟบุรีรัมย์

ข้าวหอมมะลิดินภูเขาไฟบุรีรัมย์ (Kaow Hom Mali Din Phu Kao Fai Buriram Rice) หมายถึง ข้าวเปลือก ข้าวกล้อง และข้าวขาว ที่แปรรูปมาจากข้าวหอมมะลิพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ กข 15 ปลูกในฤดูนาปี บนพื้นที่ที่มีแร่ธาตุจากดินภูเขาไฟบุรีรัมย์ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะ ทําให้เมล็ดข้าวเรียวยาว เลื่อมมัน มีท้องไข่น้อย เมื่อหุงสุกจะเหนียวนุ่มไม่แข็งกระด้าง ครอบคลุมพื้นที่ 7 อําเภอ ของจังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่ อําเภอเมืองบุรีรัมย์ อําเภอละหานทราย อําเภอเฉลิมพระเกียรติ อําเภอห้วยราช อําเภอประโคนชัย อําเภอปะคํา และอําเภอนางรอง

อ่านต่อ
ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้

ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ ( Thung Kula Rong-Hai Thai Hom Mali Rice : TKR ) หมายถึง ข้าวเปลือก ข้าวกล้อง และข้าวขาว ที่แปรรูปมาจากข้าวเปลือกพันธุ์ข้าวหอมที่ไวต่อช่วงแสง คือ พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ กข 15 ซึ่งปลูกใน พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ในฤดูนาปี และมีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ

อ่านต่อ
ข้าวหอมมะลิทุ่งสัมฤทธิ์

ข้าวหอมมะลิทุ่งสัมฤทธิ์ (Thoungsamrit Jasmine Ricel Khao Hommali Thoungsamrit) หมายถึง ข้าวเปลือก ข้าวกล้อง และข้าวขาว ที่แปรรูปมาจากข้าวหอมมะลิพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ปลูกในฤดูนาปี บนพื้นที่ ทุ่งสัมฤทธิ์ที่มีชั้นหินเกลือรองรับอยู่ด้านล่างของพื้นที่ ครอบคลุมพื้นที่ 14 อําเภอของจังหวัดนครราชสีมา ทําให้ ข้าวมีเมล็ดเรียวยาว มีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ

อ่านต่อ
ข้าวหอมมะลิพะเยา

ข้าวหอมมะลิพะเยา (Phayao Hom Mali Rice และหรือ Khao Hom Mali Phayao) หมายถึง ข้าวเปลือก ข้าวกล้อง และข้าวขาว ที่แปรรูปมาจากข้าวหอมมะลิพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และ กข15 เมล็ด ข้าวสารมีรูปร่างเรียว ยาว เมล็ดใส ท้องไข่น้อย เมื่อหุงแล้วนุ่ม มีกลิ่นหอมคล้ายใบเตย แม้ทิ้งไว้นาน ก็ยังคงสภาพ กลิ่นหอม ปลูกในพื้นที่ลุ่ม ล้อมรอบด้วยเทือกเขาหรือแอ่งที่ทับถมด้วยตะกอนแม่น้ำ ในพื้นที่ 9 อําเภอ ของจังหวัดพะเยา

อ่านต่อ
ข้าวหอมมะลิสุรินทร์

 

“ข้าวหอมมะลิสุรินทร์” ( Surin Hom Mali Rice ) หมายถึง ข้าวเปลือก ข้าวกล้อง และข้าวขาวที่แปรรูป มาจากข้าวเปลือกพันธุ์ข้าวหอมที่ไวต่อช่วงแสง คือ พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ กข 15 ที่ผลิตในจังหวัดสุรินทร์ ในฤดูนาปี และมีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ

อ่านต่อ
ข้าวหอมมะลิอุบลราชธานี

ข้าวหอมมะลิอุบลราชธานี (Ubon Ratchathani Hommali Rice หรือ Khao Hommali Ubon Ratchathani) หมายถึง ข้าวเปลือก ข้าวกล้อง และข้าวขาว ที่แปรรูปมาจาก ข้าวหอมมะลิพันธุ์ข้าวขาวดอก มะลิ 105 และ กข 15 ซึ่งปลูกในเขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ในฤดูนาปี ข้าวมีเมล็ดเรียวยาว ถ้าเป็นข้าวขาว จะมีสีขาวใส เป็นเงา มันวาว มีท้องไข่น้อยกว่าร้อยละ 6 เมื่อนํามาหุงสุกจะมีกลิ่นหอมและมีความเหนียวนุ่ม มียางข้าวเหนียวปนเล็กน้อยเนื่องจากมีพันธุ์ข้าวเจือปนอยู่ตั้งแต่ในแปลงนา เป็นผลจากเกษตรกรจังหวัด อุบลราชธานีได้จัดสรรพื้นที่ส่วนหนึ่งไว้สําหรับปลูกข้าวเหนียวเพื่อไว้บริโภคในครัวเรือน

อ่านต่อ
ข้าวฮางหอมทองสกลทวาปี

ข้าวฮางหอมทองสกลทวาปี หมายถึง ข้าวกล้องที่ได้จากการแปรรูปข้าวเปลือกเหนียว พันธุ์ กข.6 หรือ ข้าวเปลือกเจ้าพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ในระยะเป็นน้ํานมยังไม่แก่จัด ที่ปลูกในพื้นที่อําเภอวาริชภูมิ อําเภอพังโคน และ อําเภออากาศอํานวย จังหวัดสกลนคร โดยนํามาผ่านกรรมวิธีเฉพาะตามหลักประเพณีการทําข้าวฮาง ที่สืบต่อกันมาในพื้นที่ 

อ่านต่อ
ข้าวเจ๊กเชยเสาไห้

สีข้าวเปลือกมีสีฟาง เมล็ดมีความเรียวยาวเมื่อหุงแล้วข้าวจะสุกร่วนเป็นตัว ไม่เกาะเป็นก้อน หุงขึ้นหม้อ ข้าวสุกจะนุ่ม ไม่แฉะ ไม่แข็งหระด้าง ไม่เหนียวและไม่ยุบตัว เมื่อเป็นข้าวราดแกงไม่บูดง่าย ทิ้งไว้เย็นข้ามวันคุณภาพไม่เปลี่ยน ข้าวเก่าเมื่อนำมาหุง ไม่มีกลิ่นสาบ

อ่านต่อ
ข้าวเหนียวเขาวงกาฬสินธุ์

ข้าวเปลือกมีเลือกเป็นสีน้ำตาลเมล็ดข้าวสารมีสีขาวนวลข้าวนึ่งสุกหอมนุ่ม ไม่แฉะติดมือ เก็บไว้ในภาชนะปิดได้หลายชั่วโมง แม้ข้าวเย็นยังคงรักษาความอ่อนนุ่ม

อ่านต่อ
ข้าวเหนียวเขี้ยวงูเชียงราย

ข้าวเหนียวเขี้ยวงูเชียงราย (Khao Niew Khiaw Ngoo Chiang Rai) หมายถึง ข้าวเหนียวพันธุ์ เขี้ยวงู 8974 ซึ่งเป็นข้าวเหนียวพันธุ์พื้นเมืองที่ไวต่อช่วงแสง ปลูกได้ในฤดูนาปี ที่มีเมล็ดเล็ก เรียวยาว สีขาวขุ่น เมื่อนึ่งสุกแล้วนุ่มเหนียวติดกันแต่ไม่เละ มีความเลื่อมมันค่อนข้างมาก และมีกลิ่นหอม ข้าวคืนตัวเร็ว และไม่แข็ง ปลูกในเขตพื้นที่อําเภอแม่สาย อําเภอเชียงแสน อําเภอแม่จัน และอําเภอพาน ของจังหวัด เชียงราย

อ่านต่อ
ข้าวเหลืองปะทิวชุมพร

ข้าวเหลืองปะทิวชุมพร ( Khao Leuang Patew Chumphon ) หมายถึง ข้าวเจ้าพันธุ์เหลืองประทิว 123 เป็นข้าวเจ้าพื้นเมืองพันธุ์หนัก ไวต่อช่วงแสง ปลูกได้เฉพาะฤดูนาปีตามระบบการผลิตข้าวอินทรีย์ ในเขตพื้นที่จังหวัดชุมพร เป็นข้าวพื้นแข็ง เมื่อหุงสุกจะร่วนเป็นตัว ไม่เกาะกันเป็นก้อน และหุงขึ้นหม้อ เมื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เส้นจะได้เส้นที่เหนียวไม่ยุ่ยหรือขาดง่าย

อ่านต่อ
ข้าวไร่ดอกข่าพังงา

ข้าวไร่ดอกข่าพังงา (Khao Rai Dawk Kha Phangnga หรือ Rai Dawk Kha Phangnga Rice) หมายถึง ข้าวไร่พันธุ์พื้นเมืองที่มีสีน้ําตาลแดงอมม่วง สีแดง หรือสีแดงแกมขาว เป็นข้าวไวต่อช่วงแสง เมล็ด เรียวยาว เมื่อหุงสุกจะมีกลิ่นหอมคล้ายใบเตย หุงขึ้นหม้อ ไม่แข็ง รสชาติอร่อย ปลูกในเขตพื้นที่อําเภอตะกั่วทุ่ง อําเภอท้ายเหมือง และอําเภอเมืองพังงา ของจังหวัดพังงา

อ่านต่อ
ข้าวไร่ลืมผัวเพชรบูรณ์

ข้าวไร่ลืมผัวเพชรบูรณ์ (Khao Rai Leum Pua Petchabun) หมายถึง ข้าวไร่ลืมผัวที่ใช้พันธุ์ข้าว เหนียวดําพันธุ์ลืมผัว ปลูกเป็นข้าวไร่ไวต่อช่วงแสง เมล็ดมีสีม่วงดําปลูกในพื้นที่สูงที่ระดับความสูง 400-800 เมตร จากระดับน้ำทะเลของจังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อหุงสุกจะมีรสชาติอร่อย ขณะเดี๋ยวจะรู้สึกหนุบๆ กรอบนอกนุ่มใน มีกลิ่นหอม และมีคุณค่า ทางโภชนาการสูง มีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ โอเมกา 3 โอเมกา 6 โอเมกา 9 แอนโทไซยานิน แกมมา ออไรซานอล วิตามินอี (อัลฟา-โทโคฟีรอล) และแร่ธาตุต่างๆ เช่น แคลเซียม แมงกานีส เป็นต้น

อ่านต่อ
ด้านบน