ข้าว กข 43 หรือ RD 43 เป็นข้าวเจ้าพันธุ์หนึ่งที่ได้จากการผสมเดี่ยวระหว่าง พันธุ์ข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี และพันธุ์สุพรรณบุรี ในปัจจุบันจะพบแหล่งปลูกอยู่ที่จังหวัดชัยนาทและสุพรรณบุรีเป็นส่วนใหญ่
ข้าวอินทรีย์ คือ ข้าวที่ได้จากการผลิตภายใต้ระบบการผลิตข้าวอินทรีย์ซึ่งมีการจัดการการผลิตข้าวที่เกื้อกูลต่อระบบนิเวศรวมถึงความหลากหลายทางชีวภาพ เน้นใช้วัสดุธรรมชาติ ไม่ใช้วัตถุดิบสังเคราะห์และมีการจัดการกับผลิตภัณฑ์โดยเน้นการแปรรูปด้วยความระมัดระวังเพื่อรักษาสภาพการเป็นข้าวอินทรีย์และคุณภาพที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์
ขั้นตอนการผลิตข้าวอินทรีย์ ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่
ข้าวอินทรีย์วิถีพื้นบ้าน
เป็นระบบการผลิตข้าวที่ไม่ใช้สารเคมีทางการเกษตรทุกชนิด เช่น ปุ๋ยเคมี สารควบคุมการเจริญเติบโตสารควบคุมและกำจัดวัชพืช สารป้องกันกำจัดโรคแมลงและสัตว์ศัตรูข้าวตลอดจนสารเคมีที่ใช้รมเพื่อป้องกันกำจัดแมลงศัตรูข้าวในโรงเก็บ การผลิตข้าวอินทรีย์นอกจากจะทำให้ผลผลิตข้าวมีคุณภาพ ปลอดภัยจากสารพิษแล้วยังเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืน
ข้าวอินทรีย์มาตรฐานสากล
การผลิตข้าวอินทรีย์มาตรฐานสากล มีกระบวนการผลิตการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตภัณฑ์อินทรีย์ และห้ามใช้สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุ์หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุ์ในกระบวนการผลิตและแปรรูปข้าวอินทรีย์ ซึ่งผู้ผลิตและผู้ประกอบการต้องผฏิบัติตามเพื่อให้ได้รับการรับรอง มีขั้นตอนการปฏิบัติเป็นลำดับขั้น ดังนี้
1.เกษตรกรจะต้องมีการปฏิบัติตามข้อกำหนดในการผลิตข้าวอินทรีย์
2.เกษตรกรจัดทำบันทึกขั้นตอนการใช้ปัจจัยการผลิต โดยแสดงแหล่งที่มาและปริมาณการใช้
3.สมัครขอรับรองต่อกรมการข้าว เกษตรกรต้องแสดงข้อมูลต่อไปนี้
- ประวัติการใช้พื้นที่
- ประวัติการใช้สารเคมี และผลการวิเคราะห์สารพิษตกค้างในดินและน้ำ (ถ้ามี)
- แผนที่และแผนผังแปลงนาที่ขอการรับรองและพื้นที่ข้างเคียง
- แผนการผลิตในทุกขั้นตอน
- บันทึกขั้นตอนการใช้ปัจจัยการผลิต
- บันทึกกิจกรรมในแปลงนา และข้อมูลอื่นๆ
การปฏิบัติตามข้อกำหนดการผลิต ข้าวอินทรีย์มาตรฐานสากล
1.พื้นที่
พื้นที่การผลิตที่ต้องการขอรับรองมาตรฐานข้าวอินทรีย์ ต้องผ่าน “ระยะปรับเปลี่ยน” ซึ่งระยะปรับเปลี่ยนแต่ละมาตรฐานจะแตกต่างกัน เช่น กรณีข้าวอินทรีย์มาตรฐาน มกษ.9000 จะมีช่วงระยะเปลี่ยนอย่างน้อย 12 เดือน หากต้องการผลิตข้าวเพื่อส่งออกไปยังสหภาพยุโรป ข้าวมีระยะปรับเปลี่ยนอย่างน้อย
4 เดือน แต่ช่วงระยะปรับเปลี่ยนอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของผู้ตรวจประเมิน
อาจยกเว้นระยะการปรับเปลี่ยนได้หากพื้นที่การผลิตนั้นได้ทำการเกษตรตามหลักการในมาตรฐานเกษตรอินทรีย์มาเป็นเวลาหลายปีแล้ว และมีเอกสารหลักฐานอ้างอิงได้
2.แหล่งน้ำ
ควรมีมาตรฐานการอนุรักษ์น้ำที่ใช้ในแปลงนา น้ำที่ใช้ปลูกต้องได้จากแหล่งที่ไม่มีสภาพแวดล้อมซึ่งก่อให้เกิดการปนเปื้อนวัตถุอันตราย
3.การจัดการดินปุ๋ย
ต้องรักษาหรือเพิ่มระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินและกิจกรรมทางชีวภาพที่เป็นประโยชน์ในดิน ปลูกพืชตระกูลถั่ว ใช้ปุ๋ยพืชสด ใช้พืชรากลึกในการปลูกหมุนเวียน
ควรมีมาตรการในการป้องกันดินเค็ม เช่นการปลูกพืชคลุมดิน หรือการจัดการน้ำอย่างเหมาะสมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ต้องมีแผนการใช้อย่างผสมผสาน และใช้เท่าที่จำเป็นในปริมาณที่เหมาะสม โดยคำนึงความสมดุลของธาตุอาหารในดินและความต้องการธาตุอาหารของข้าว
4.การจัดการคุณภาพในกระบวนการผลิตก่อนการเก็บเกี่ยว
4.1 แหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์
เมล็ดพันธุ์ต้องมาจากแหล่งผลิตข้าวอินทรีย์ ยกเว้นในพื้นที่ที่หาเมล็ดพันธุ์ข้าวอินทรีย์ไม่ได้ อนุโลมให้ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวจากแหล่งทั่วไปสำหรับการผลิตข้าวอินทรีย์ในปีแรก
4.2 การควบคุม ป้องกัน หรือกำจัดสัตว์ศัตรูข้าว
โดยใช้มาตรการใดมาตรการหนึ่ง หรือหลายมาตรการร่วมกันเลือกใช้พันธุ์ข้าวที่ต้านทานโรค แมลง สัตว์ศัตรูข้าว และเหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ เลือกใช้วิธีเขตกรรมหรือการจัดการในแปลงนา เช่น การปลูกพืชหมุนเวียน การปลูกพืชคลุมดิน ใช้วิธีฟิสิกส์ ชีววิธี และจุลินทรย์ ถ้าสารที่ใช้ดังกล่าวไม่สามารถป้องกัน หรือกำจัดศัตรูข้าวได้ ให้ใช้สารตามที่มาตรฐานได้ระบุไว้
4.3 มาตรการป้องกันการปนเปื้อน
พื้นที่ปลูกจะต้องห่างจากแหล่งกำเนิดของวัตถุอันตราย หากมีจะต้องทำแนวป้องกันการปนเปื้อนทั้งทางน้ำและอากาศ
5.การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
5.1 การขนย้าย การเก็บรักษา และการรวบรวมผลผลิต
อุปกรณ์ ภาชนะบรรจุ และพาหนะที่ใช้ในการขนย้ายและเก็บรักษา ต้องแยกออกจากแปลงทั่วไป สามารถป้องกันการปนเปื้อนจากอันตรายและสิ่งแปลกปลอมที่มีผลต่อความปลอดภัยในการบริโภค รวมทั้งไม่ทำให้เกิดการปนเปื้อนของข้าวจากแปลงทั่วไป สถานที่เก็บรวบรวม และสถานที่เก็บรักษา ต้องถูกสุขลักษณะ สะอาดและมีการถ่ายเทอากาศดี สามารถป้องกันการปนเปื้อนผลิตผล วิธีการเก็บรักษา และรวบรวมผลิตผล ต้องไม่ทำให้ผลิตผลเสียหาย และทำให้เกิดการปนเปื้อนของข้าวจากแปลงทั่วไป ป้องกันและลดความเสียหายจากแมลงและสัตว์ศัตรูในโรงเรือน
6.การบันทึก และจัดเก็บข้อมูล (แหล่งผลิต)
ต้องมีการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับ แหล่งที่มาของเมล็ดพันธุ์ แหล่งน้ำใช้ การเตรียมการจัดต้นของข้าวพันธุ์อื่นปน การสำรวจและการเข้าทำลายของศัตรูพืชและการจัดการการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร การเก็บเกี่ยวและนวดข้าว การลดความชื้นข้าวเปลือก การบรรจุข้าวเปลือกและการเก็บรักษา และแหล่งที่มาของผลผลิต
ผลิตผลที่อยู่ระหว่างการเก็บรักษาและขนย้าย ต้องมีการระบุข้อมูลให้สามารถตรวจสอบแหล่งที่มาของผลิตผลได้
7.การนวดข้าว การสีแปรสภาพข้าว
7.1 ควรแยกเครื่องจักรกลหรือเครื่องมืออุปกรณ์ในการสี และการแปรรูปที่ใช้สำหรับผลิตผลจากแปลงที่เป็นอินทรีย์ออกจากแปลงที่ไม่เป็นอินทรีย์ หากในกรณีที่มีการใช้ร่วมกันทั้งผลิตผลจากแปลงที่เป็นและไม่เป็นอินทรีย์เกษตรกรต้องทำความสะอาดเครื่องจักรหรือเครื่องมือดังกล่าวก่อนที่จะนำไปใช้
7.2 มีการทำความสะอาดและกำจัดข้าวปนออกจากเครื่องสีข้าว แจ้งปริมาณข้าวและชนิดข้าวที่แปรรูปให้ผู้ตรวจสอบ จัดเก็บข้าวสาร ข้าวกล้องแยกออกจากข้าวทั่วไป
8.การบรรจุหีบห่อ
8.1 สถานที่บรรจุข้าวจะต้องมีการจัดการเพื่อรักษาความเป็นอินทรีย์ โดยแยกระหว่างบรรจุข้าวทั่วไปออกจากข้าวอินทรีย์
8.2 ข้าวสารหรือข้าวกล้องที่บรรจุถุงต้องได้มาตรฐาน (ความชื้น แมลงศัตรูข้าว เชื้อจุลินทรย์) ภาชนะบรรจุจะต้องแข็งแรงทนทาน ไม่แตกง่าย ข้อความบนถุงจะต้องถูกต้อง ครบถ้วนตามมาตรฐานบรรจุภัณฑ์/กรณีข้าวกล้องควรบรรจุในระบบสุญญากาศ เพื่อรักษาคุณภาพข้าว
8.3 ข้าวในบรรจุภัณฑ์ที่ได้การรับรองตรวจสอบตลอดห่วงโซ่การผลิต ตั้งแต่แปลง โรงสี โรงคัดบรรจุ จึงจะติดตรารับรอง Q หรือ Organic Thailand
9.การบันทึก และจัดเก็บข้อมูล (แหล่งคัดบรรจุ/แหล่งแปรรูป)
ต้องมีการระบุข้อมูลให้สามารถตรวจสอบแหล่งที่มาการซื้อขาย การแปรรูป และการคัดบรรจุของผลิตผลได้สินค้าที่ได้มาตรฐานการรับรองระบบการผลิต สินค้าที่ดีรับรองมาตรฐานการผลิตข้าวอินทรีย์ เช่น Organic Thailand หรือมาตรฐานสากล เช่น IFOAM EU USDA cor เป็นต้น อยู่บนผลิตภัณฑ์เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค และโอกาสทางการตลาด
ข้าวหอมดําสุโขทัย 2 มีลักษณะเด่น คือเป็นข้าวต้นเตี้ยไม่ไวต่อช่วงแสง ข้าวกล้องมีสีม่วงดํา ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ใหผลผลิตสูง ลําต้นแข็งแรง และไม่หักล้มง่าย“หอมดําสุโขทัย 2” มีลักษณะเด่น คือเป็นข้าวต้นเตี้ยไม่ไวต่อช่วงแสง ข้าวกล้องมีสีม่วงดํา ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ใหผลผลิตสูง ลําต้นแข็งแรง และไม่หักล้มง่าย
ข้าวมะลินิลสุรินทร์ เป็นข้าวเจ้าหอมต่างสี ถือเป็นข้าวกล้องสีดำ มีเมล็ดเรียวยาว โดยมีคุณปะโยชน์ทางโภชนาการอยู่มากมาย มีปริมาณอไมโลสต่ำ อุณหภูมิแป้งสุกต่ำ คุณภาพข้าวสุกนุ่มและมีกลิ่นหอม ข้าวหอมมะลินิลสุรินทร์มีโปรตีนเป็น 2 เท่าของข้าวขาวดอกมะลิ 105 และยังประกอบไปด้วยสารอาหารมากมายอาทิเช่น ธาตุเหล็ก สังกะสี ทองแดง โพรแตสเซียม แคลเซียม และวิตามินบีหลายชนิด
ข้าวมะลิโกเมนสุรินทร์ เกิดจากความร่วมมือระหว่าง ศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ ศูนย์วิจัยข้าวสกลนคร สํานักวิจัย และพัฒนาข้าว คณะเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นข้าวเจ้าหอมต่างสี ได้จาก การคัดเลือกพันธุ์ข้าวเจ้าหอมต่างสีพันธุ์พื้นเมืองไวต่อแสง พันธุ์มะลิแดงเบอร์ 54 จากแปลงแสดงพันธุ์ข้าวพื้นเมือง ของศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ ปี 2548
ข้าวพันธุ์หอมกระดังงา เป็นพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่มี การปลูกในจังหวัดนราธิวาส พื้นที่ปลูกส่วนใหญ่อยู่ที่อําเภอ ตากใบ จังหวัดนราธิวาส โดยข้าวพันธุ์นี้มีกลิ่นหอมคล้าย ดอกกระดังงาเป็นลักษณะเฉพาะ เมล็ดข้าวมีสีน้ําตาลเข้ม รูปร่างยาวรี ข้าวกล้องมีสีแดง เป็นพันธุ์ข้าวกล้องที่มีคุณค่า ทางโภชนาการสูงจึงเป็นที่นิยมของกลุ่มผู้บริโภคข้าว เพื่อสุขภาพ
กข79 ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่าง PSL00034-373-1-3 ต้านทานต่อโรคไหม้เป็นพันธุ์แม่กับ PSBRc20 ต้านทานต่อโรคไหม้และเพลี้ยกระโดดสีน้ําตาลเป็นพันธุ์พ่อ คัดเลือกพันธุ์ ปลูกทดสอบผลผลิต ได้ข้าวเจ้าสายพันธุ์ CNT0718-26-1-1-1 โดยศูนย์วิจัยข้าวชัยนาทมีมติให้เป็น พันธุ์รับรองชื่อ กข79 (ชัยนาท 62) เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2562
หอมใบเตย คือ เป็นข้าวนาหน้าฝนพันธุ์ดีในเขต ภาคเหนือตอนล่าง ได้รับความนิยมอย่างมากในพื้นที่ จังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดอุทัยธานี โดยเกษตรกร ส่วนใหญ่เรียกชื่อข้าวพันธุ์นี้ว่า C85 มาตั้งแต่ก่อน ปี 2534 จนถึงปัจจุบัน ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท เก็บรวบรวมพันธุ์ข้าว C85 จากแปลงเกษตรกร ใน ต.หนองยายดา อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี
ข้าวเจ้าสายพันธุ์เม็ดฝ้าย NSRC14008 ศูนย์วิจัยข้าว นครศรีธรรมราชได้เก็บรวบรวมพันธุ์จากแหล่งปลูกใน พื้นที่ หมู่ที่ 1 บ้านทุ่งควาย ตําบลเขาโร อําเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกข้าวไร่พันธุ์เม็ดฝ้าย ในปี 2557 มีมติให้เป็นพันธุ์รับรองชื่อ ข้าวเจ้าพันธุ์ เม็ดฝ้าย 62 เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2562
ศูนย์วิจัยข้าวปัตตานีได้เก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวเหนียวสีพันธุ์พื้นเมืองจากจังหวัดกระบี่ นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ที่เกษตรกรนิยมปลูกทั่วไปในภาคใต้ ตั้งแต่ปี 2539 ถึง 2542 ได้จํานวน 89 พันธุ์ มาปลูกศึกษาวิจัยและพัฒนาพันธุ์ภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวนาสวน นาน้ำฝนภาคใต้ที่ศูนย์วิจัยข้าวปัตตานี ในฤดูนาปี 2546/47 ถึง 2547/48
ข้าวเจ้าพันธุ์ กข83 ได้จากการคัดเลือกในประชากรพันธุ์ผสมรวม (Composite population) ของข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีดําสายพันธุ์ผสมชั่วที่ 3 ของพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 สายพันธุ์กลาย สุรินทร์ 1 หอมสุโขทัย และข้าวเหนียวดําเป็นพันธุ์พ่อแม่ ปลูกคัดเลือก และทดสอบผลผลิตที่ศูนย์วิจัยข้าวหนองคาย ได้ข้าวเจ้าสายพันธุ์ SRNComp. 10001-BNKI-B-1-3-1
มีมติให้เป็นพันธุ์รับรองข้าว กข83 (มะลิหนองคาย 62) เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2562