ข้าว กข 43 หรือ RD 43 เป็นข้าวเจ้าพันธุ์หนึ่งที่ได้จากการผสมเดี่ยวระหว่าง พันธุ์ข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี และพันธุ์สุพรรณบุรี ในปัจจุบันจะพบแหล่งปลูกอยู่ที่จังหวัดชัยนาทและสุพรรณบุรีเป็นส่วนใหญ่
ข้าวโภชนาการสูง(High nutrious rice) คือ ข้าวที่มีคุณค่าทางอาหาร ในปริมาณสูงกว่าข้าวทั่วไป มีสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย อาทิเช่น สารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ ลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งได้แก่ แอนโทไซยานิน(Anthocyanin) แกมมาโอไรซานอล(gamma oryzanol) วิตามินอี ในกลุ่มโทโคฟีรอล ฟลาโวนอยด์ ฟีโนลิก เป็นต้น ธาตุเหล็ก ธาตุสังกะสี และวิตามิน B1 B2 B3 โอเมก้า 3 6 9 และสาร ASGs (Acylated steryl glucosides) ช่วยการทำงานของอินซูลิน และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เป็นต้น
ข้าวโภชนาการสูง ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มข้าวสีประเภท ข้าวกล้องที่มีสีแดง ม่วงเข้มและสีดำ สารที่มีคุณค่าทางอาหารจะพบที่บริเวณเยื่อหุ้มเมล็ดข้าว
กลุ่มข้าวสีม่วง
คุณค่าทางโภชนาการ
จัดเป็นข้าวโภชนาการสูง (High Nutritious Rice) มีรงควัตถุ แกมมา-ไทโคไตรอีนอล แกมมา-ออรีซานอล ที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่ละลายในน้ำมัน และสารต้านอนุมูลอิสระที่ละลายในน้ำ ได้แก่ “สารแอนโทไซยานิน” และ “โปรแอนโทไซยานิน” ประโยชน์ของสารเหล่านี้ ช่วยลดไขมันอุดตันในเส้นเลือด บำรุงสายตา ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านม ปอด กระเพาะอาหาร เม็ดเลือดขาว และเป็นยาบำรุงโลหิต
กลุ่มเม็ดข้าวสีดำหรือม่วง ประกอบด้วยข้าวเหนียวดำลืมผัว, ข้าวก่ำ, ข้าวเหนียวดำช่อไม้ไผ่, ข้าวหอมนิล, ข้าวมะลินิลสุรินทร์, ข้าวไรซ์เบอรี่
กลุ่มข้าวสีแดง
คุณค่าทางโภชนาการ
จัดเป็นข้าวโภชนาการสูง (High Nutritious Rice) ลักษณะเด่นมีสารต้านอนุมูลอิสระ แอนโทไซยานินในกลุ่มฟลาโวนอยด์ และสารโพลีฟินอล ประโยชน์ของกลุ่มข้าวสีแดง ช่วยในการต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ต้านอนุมูลอิสระ ชะลอการเสื่อมของเซลล์ ช่วยการหมุนเวียนของกระแสโลหิต ลดอัตราเสี่ยงของการเป็นมะเร็ง ป้องกันโรคหัวใจ มี GABA สูง มีประโยชน์ต่อระบบประสาทและสมอง ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ มีกากใยอาหารสูง มีโปรตีนชะลอความแก่ มีธาตุเหล็ก และฟอสฟอรัส ช่วยบำรุงโลหิต ป้องกันโรคความจำเสื่อม
กลุ่มเม็ดข้าวสีแดง ประกอบด้วยพันธุ์ข้าวทับทิมชุมแพ, ข้าวสังข์หยด, ข้าวหอมมะลิแดง, ข้าวทับทิมโกเมน, ข้าวหอมกุหลาบแดง, ข้าวหอมกระดังงา
กลุ่มข้าวสีครีม / น้ำตาล
คุณค่าทางโภชนาการ
จัดเป็นข้าวโภชนาการสูง (High Nutritious Rice) ลักษณะเด่น มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายสูง เช่น วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 ไนอาซิน วิตามินอี แร่ธาตุ ฟอสฟอรัส แคลเซียม เหล็ก ทองแดง สังกะสี เป็นต้น
ประโยชน์ของกลุ่มข้าวสีครีม / น้ำตาล มีสารขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็กน้อย มีน้ำตาลต่ำ ลดภาวะการดื้อของอินซูลิน เพิ่มขบวนการทำงานของตับอ่อน และเพิ่มปริมาณฮีโมโกลบินในเลือด
กลุ่มข้าวสีครีม/น้ำตาล ได้แก่ ข้าวกล้องสินเหล็ก ข้าวฮาง
ข้าวหอมดําสุโขทัย 2 มีลักษณะเด่น คือเป็นข้าวต้นเตี้ยไม่ไวต่อช่วงแสง ข้าวกล้องมีสีม่วงดํา ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ใหผลผลิตสูง ลําต้นแข็งแรง และไม่หักล้มง่าย“หอมดําสุโขทัย 2” มีลักษณะเด่น คือเป็นข้าวต้นเตี้ยไม่ไวต่อช่วงแสง ข้าวกล้องมีสีม่วงดํา ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ใหผลผลิตสูง ลําต้นแข็งแรง และไม่หักล้มง่าย
ข้าวมะลินิลสุรินทร์ เป็นข้าวเจ้าหอมต่างสี ถือเป็นข้าวกล้องสีดำ มีเมล็ดเรียวยาว โดยมีคุณปะโยชน์ทางโภชนาการอยู่มากมาย มีปริมาณอไมโลสต่ำ อุณหภูมิแป้งสุกต่ำ คุณภาพข้าวสุกนุ่มและมีกลิ่นหอม ข้าวหอมมะลินิลสุรินทร์มีโปรตีนเป็น 2 เท่าของข้าวขาวดอกมะลิ 105 และยังประกอบไปด้วยสารอาหารมากมายอาทิเช่น ธาตุเหล็ก สังกะสี ทองแดง โพรแตสเซียม แคลเซียม และวิตามินบีหลายชนิด
ข้าวมะลิโกเมนสุรินทร์ เกิดจากความร่วมมือระหว่าง ศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ ศูนย์วิจัยข้าวสกลนคร สํานักวิจัย และพัฒนาข้าว คณะเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นข้าวเจ้าหอมต่างสี ได้จาก การคัดเลือกพันธุ์ข้าวเจ้าหอมต่างสีพันธุ์พื้นเมืองไวต่อแสง พันธุ์มะลิแดงเบอร์ 54 จากแปลงแสดงพันธุ์ข้าวพื้นเมือง ของศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ ปี 2548
ข้าวพันธุ์หอมกระดังงา เป็นพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่มี การปลูกในจังหวัดนราธิวาส พื้นที่ปลูกส่วนใหญ่อยู่ที่อําเภอ ตากใบ จังหวัดนราธิวาส โดยข้าวพันธุ์นี้มีกลิ่นหอมคล้าย ดอกกระดังงาเป็นลักษณะเฉพาะ เมล็ดข้าวมีสีน้ําตาลเข้ม รูปร่างยาวรี ข้าวกล้องมีสีแดง เป็นพันธุ์ข้าวกล้องที่มีคุณค่า ทางโภชนาการสูงจึงเป็นที่นิยมของกลุ่มผู้บริโภคข้าว เพื่อสุขภาพ
กข79 ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่าง PSL00034-373-1-3 ต้านทานต่อโรคไหม้เป็นพันธุ์แม่กับ PSBRc20 ต้านทานต่อโรคไหม้และเพลี้ยกระโดดสีน้ําตาลเป็นพันธุ์พ่อ คัดเลือกพันธุ์ ปลูกทดสอบผลผลิต ได้ข้าวเจ้าสายพันธุ์ CNT0718-26-1-1-1 โดยศูนย์วิจัยข้าวชัยนาทมีมติให้เป็น พันธุ์รับรองชื่อ กข79 (ชัยนาท 62) เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2562
หอมใบเตย คือ เป็นข้าวนาหน้าฝนพันธุ์ดีในเขต ภาคเหนือตอนล่าง ได้รับความนิยมอย่างมากในพื้นที่ จังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดอุทัยธานี โดยเกษตรกร ส่วนใหญ่เรียกชื่อข้าวพันธุ์นี้ว่า C85 มาตั้งแต่ก่อน ปี 2534 จนถึงปัจจุบัน ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท เก็บรวบรวมพันธุ์ข้าว C85 จากแปลงเกษตรกร ใน ต.หนองยายดา อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี
ข้าวเจ้าสายพันธุ์เม็ดฝ้าย NSRC14008 ศูนย์วิจัยข้าว นครศรีธรรมราชได้เก็บรวบรวมพันธุ์จากแหล่งปลูกใน พื้นที่ หมู่ที่ 1 บ้านทุ่งควาย ตําบลเขาโร อําเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกข้าวไร่พันธุ์เม็ดฝ้าย ในปี 2557 มีมติให้เป็นพันธุ์รับรองชื่อ ข้าวเจ้าพันธุ์ เม็ดฝ้าย 62 เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2562
ศูนย์วิจัยข้าวปัตตานีได้เก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวเหนียวสีพันธุ์พื้นเมืองจากจังหวัดกระบี่ นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ที่เกษตรกรนิยมปลูกทั่วไปในภาคใต้ ตั้งแต่ปี 2539 ถึง 2542 ได้จํานวน 89 พันธุ์ มาปลูกศึกษาวิจัยและพัฒนาพันธุ์ภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวนาสวน นาน้ำฝนภาคใต้ที่ศูนย์วิจัยข้าวปัตตานี ในฤดูนาปี 2546/47 ถึง 2547/48
ข้าวเจ้าพันธุ์ กข83 ได้จากการคัดเลือกในประชากรพันธุ์ผสมรวม (Composite population) ของข้าวที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีดําสายพันธุ์ผสมชั่วที่ 3 ของพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 สายพันธุ์กลาย สุรินทร์ 1 หอมสุโขทัย และข้าวเหนียวดําเป็นพันธุ์พ่อแม่ ปลูกคัดเลือก และทดสอบผลผลิตที่ศูนย์วิจัยข้าวหนองคาย ได้ข้าวเจ้าสายพันธุ์ SRNComp. 10001-BNKI-B-1-3-1
มีมติให้เป็นพันธุ์รับรองข้าว กข83 (มะลิหนองคาย 62) เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2562