การขยายตัวทางเศรษฐกิจและตลาดการค้าระหว่างประเทศในช่วงที่ผ่านมาเป็นปัจจัยผลักดันให้เกิดการแข่งขันด้านคุณภาพของสินค้าและการบริการที่สูงขึ้น ประกอบกับการปฏิบัติตามกรอบกติกาการค้าเสรีของ World Trade Organization (WTO) จำเป็นต้องมีการพัฒนาระบบการผลิตและการตรวจสอบเพื่อออกใบรับรองที่ได้คุณภาพตามมาตรฐานสากลเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือการยอมรับในสินค้าเกษตรและอาหารของประเทศไทยและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในด้านปริมาณ คุณภาพและความปลอดภัย
รัฐบาลได้มีนโยบายในการสร้างระบบการตรวจสอบและออกใบรับรองตามหลักมาตรฐานสากลโดยเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2553 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้มีการถ่ายโอนงานด้านการตรวจสอบออกใบรับรอง (Certification) และการวิเคราะห์ทดสอบในห้องปฏิบัติการ ซึ่งเดิมเป็นภารกิจของภาครัฐไปยังหน่วยงานภาคเอกชนที่มีศักยภาพและความรู้ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวเทียบเท่ากับหน่วยงานภาครัฐดำเนินการอยู่ รวมทั้งผลักดันและส่งเสริมให้มีการพัฒนาระบบการตรวจประเมินและรับรองมาตรฐานของประเทศไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
ขอบข่ายและการจัดทำหลักเกณฑ์การรับรองการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี
มาตรฐานสินค้าเกษตร (มกษ.) เป็นมาตรฐานที่กำหนดและบ่งบอกคุณลักษณะด้านคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าเกษตรที่ผู้บริโภคคาดหวัง ซึ่งเป็นเกณฑ์สำหรับเกษตรกรใช้ในการผลิตสินค้าเกษตรที่สนองตอบต่อความต้องการดังกล่าว สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ได้จัดทำ“มาตรฐานสินค้าเกษตรการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี” ที่โดยทั่วไปเรียกว่า “มาตรฐาน มกษ. GAP (Good Agricultural Practices)” ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นมาตรฐานที่มุ่งเน้นการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยต่อการบริโภคตามหลักสากล ในขณะเดียวกันการตรวจสอบและรับรองว่าสินค้าเกษตรผลิตตามมาตรฐาน มกษ จะเป็นกระบวนการที่สร้างความมั่นใจต่อผู้บริโภคในสินค้าเกษตรดังกล่าว อันเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการค้าในตลาดโลกปัจจุบันที่ผ่านมา การตรวจสอบและออกใบรับรองสินค้าเกษตร ดำเนินการโดยหน่วยงานที่ได้รับมอบอำนาจ (Competent Authority: CA) ภายใต้กฎหมายของแต่ละประเทศ ตามกฎกติกาหรือข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศ แต่ระบบดังกล่าว อาจไม่แสดงให้เห็นถึงความเป็นอิสระ ความเป็นกลางภายในกระบวนการตรวจรับรองได้ตามกรอบกติกาการค้าเสรีของ World Trade Organization (WTO) ดังนั้นจึงเริ่มมีการใช้ระบบการรับรองระบบงาน (Accreditation) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการตรวจสอบและออกใบรับรองสินค้าเกษตรและเพิ่มช่องทางในการค้าขายสินค้าเกษตรภายใต้กรอบการค้าเสรี
ในการสร้างความเชื่อมั่นในใบรับรองทั้งในระดับประเทศและสากลนั้นจำเป็นต้องมีการทวนสอบการทำงานของหน่วยรับรองโดยหน่วยงานที่เป็นอิสระว่าหน่วยรับรองนั้นได้ปฏิบัติตามมาตรฐาน ISO/IEC Guide65บรรลุตามวัตถุประสงค์ของระบบคุณภาพอย่างเหมาะสมต่อเนื่องหรือไม่การทวนสอบนี้ เรียกว่า การรับรองระบบงาน และหน่วยงานที่ทำหน้าที่นี้ เรียกว่า หน่วยรับรองระบบงาน (Accreditation Body: AB) ซึ่งหน่วยรับรองระบบงานด้านสินค้าเกษตรของประเทศไทย คือ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ภายใต้คณะกรรมการการมาตรฐานแห่งชาติ ในการทำงานของหน่วยรับรองระบบงาน องค์กรรับรองระบบงานระหว่างประเทศ (International Accreditation Forum: IAF) ทำการตรวจประเมิน เพื่อทวนสอบการทำงานของหน่วยรับรองระบบงานของประเทศสมาชิกรวมถึงประเทศไทยเมื่อหน่วยรับรองระบบงานของประเทศนั้นผ่านการประเมินดังกล่าว จะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นของใบรับรองภายในกลุ่มประเทศสมาชิก เป็นผลจากกระบวนการตรวจสอบและออกใบรับรอง โดยหน่วยรับรองที่ปฏิบัติตามมาตรฐาน ISO/IEC Guide 65และได้รับ3/35หลักเกณฑ์การรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีการทวนสอบเป็นลำดับชั้น ตั้งแต่ระดับประเทศ และระหว่างประเทศอันเป็นสิ่งที่ยืนยันหรือเชื่อมั่นได้ว่าสินค้าเกษตรนั้นเป็นไปตามมาตรฐานที่ระบุในใบรับรองส่งผลให้ได้รับความเชื่อถือและเชื่อมั่นจากผู้บริโภคทั่วโลก
ทั้งนี้ มกอช. ได้รับการรับรองความเท่าเทียมด้านการรับรองระบบงานจากองค์กรภูมิภาคแปซิฟิกว่าด้วยการรับรองระบบงาน (Pacific Accreditation Cooperation: PAC) และ IAF ด้านการรับรองผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐาน ISO/IEC Guide 65 เมื่อปี 2553 อันเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในใบรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรของไทยในเวทีการค้าโลกการตรวจสอบและออกใบรับรองสินค้าเกษตรตามมาตรฐาน มกษ. GAP เป็นหน้าที่ของหน่วยรับรองเพื่อสร้างความมั่นใจว่าใบรับรองที่ออกเป็นสิ่งยืนยันว่าสินค้าเกษตรนั้นผลิตตามมาตรฐาน ทั้งนี้หน่วยรับรองต้องจัดทำและดำเนินระบบบริหารงานคุณภาพภายในองค์กรตามมาตรฐาน ISO/IEC Guide 65 โดยต้องมีองค์ประกอบต่างๆ ครบถ้วน ได้แก่ ระบบบริหารงานที่มีผู้บริหารระดับสูงทำหน้าที่กำหนดนโยบายมีคณะกรรมการกลางที่กำกับดูแลความเป็นกลางและความโปร่งใสในกระบวนการรับรอง (Certification Process) และมีบุคลากรที่มีความสามารถเหมาะสมในการตรวจประเมินลูกค้าหรือเกษตรกรผู้ผลิตในกระบวนการตรวจสอบรับรองเริ่มตั้งแต่การรับคำขอและการทบทวนสัญญา (Contract Review) เพื่อทวนสอบว่าความสามารถของหน่วยรับรองที่จะตรวจตามมาตรฐานที่ได้รับการร้องขอจากนั้นต้องมีการตั้งทีมประเมินซึ่งทำการตรวจฟาร์มและเขียนรายงานการตรวจเพื่อส่งเข้าสู่กระบวนการตัดสินใจ เพื่อออกใบรับรองตามขอบข่ายที่ได้รับการร้องขอกระบวนการรับรองนี้เป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานISO/IEC Guide 65 อันเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในใบรับรอง
สำหรับรายการการตรวจประเมิน (Checklist) ในแต่ละขอบข่ายสินค้าเกษตร เช่น พืช ปศุสัตว์ และประมง หน่วยรับรองสามารถกำหนดรูปแบบได้ตามความเหมาะสมหรือใช้รายการตรวจประเมินที่หน่วยราชการจัดทำไว้แล้วก็ได้
1. การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี(Good Agricultural Practices: GAP) หมายถึงการปฏิบัติเพื่อปูองกันหรือลดความเสี่ยงของอันตรายที่อาจเกิดขึ้นระหว่าง การเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำการเก็บเกี่ยว และการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพปลอดภัย และเหมาะสมสำหรับการบริโภค ในเอกสารฉบับนี้จะใช้คำย่อว่า มาตรฐาน มกษ. GAP
2. สำนักงาน หมายถึงสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)
3. สำนักมาตรฐาน หมายถึง สำนักกำหนดมาตรฐาน (สกม.) สังกัดสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ซึ่งสำนักงาน ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรในการออกมาตรฐานสินค้าเกษตร (มกษ.) ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตรพ.ศ.2551
4. หน่วยรับรองระบบงาน (Accreditation Body, AB) หมายถึงหน่วยงานที่ทำหน้าที่ให้การรับรองความสามารถแก่หน่วยรับรอง ได้แก่ สำนักรับรองมาตรฐาน (สรม.) สังกัดสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ(มกอช.)
5.หน่วยรับรอง(Conformity Assessment Bodies, CAB) หมายถึงหน่วยงานทำหน้าที่ตรวจสอบและออกใบรับรองให้แก่ผู้ประกอบการตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ซึ่งต้องได้รับการรับรองความสามารถจากหน่วยรับรองระบบงาน
6. ผู้ผลิต หมายถึง ผู้ที่ทำการผลิตผลิตผลทางการเกษตรเบื้องต้นผู้ผลิตสามารถขอการรับรองมาตรฐาน มกษ. GAPจากหน่วยรับรองตามข้อ 5
6.1 ผู้ผลิตแบบเดี่ยว หมายถึง บุคคลหรือนิติบุคคลที่เป็นตัวแทนผู้รับผิดชอบในทางกฎหมายในการผลิตผลผลิตนั้นภายใต้ขอบข่ายของประเภทสินค้าเกษตร
6.2 ผู้ผลิตแบบกลุ่ม หมายถึง กลุ่มผู้ผลิตที่ผลิตสินค้าประเภทเดียวกันหรือต่างประเภท โดยมีสถานะเป็นนิติบุคคลและมีการควบคุมภายในระบบการผลิตสินค้านั้นเช่น การใช้ระเบียบวิธีปฏิบัติควบคุมภายใน เป็นต้นในการขอรับรองฟาร์มตามขอบข่ายมาตรฐาน มกษ. GAP กลุ่มผู้ผลิตอาจจะมีสมาชิกที่ไม่อยู่ภายใต้มาตรฐาน มกษ. GAP ก็ได้แต่ก็ต้องมีระบบในการแยกผลผลิตที่ชัดเจน
7. ผู้ขอรับการรับรองมาตรฐาน มกษ. GAP หมายถึง ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการด้านสินค้าเกษตรที่ขอรับการรับรองจากหน่วยรับรองที่ให้บริการรับรองมาตรฐาน มกษ. GAPทั้งนี้หน่วยรับรองต้องมีคุณสมบัติตามมาตรฐานISO/IEC Guide 65
8. ผู้ตรวจประเมิน หมายถึง บุคคล และ/หรือ คณะบุคคลของหน่วยรับรอง ที่ทำการตรวจประเมินระบบการผลิตตามมาตรฐาน มกษ. GAP
9. ผู้ตรวจประเมินภายใน หมายถึงผู้ตรวจประเมินระบบคุณภาพของผู้ผลิตแบบกลุ่มที่ขอรับการรับรองมาตรฐาน มกษ. GAP
10.คณะทบทวน หมายถึงบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่พิจารณาทบทวนและอนุมัติผลการตรวจประเมินรับรอง
11.ขอบข่ายการรับรอง(Scope) หมายถึง ประเภทของการผลิตสินค้าเกษตร ที่หน่วยรับรองให้การรับรองแก่ผู้ผลิต ได้แก่ พืช ปศุสัตว์ และประมง
12. การรับรองแบบเดี่ยว หมายถึงการที่หน่วยรับรองออกใบรับรองแก่ผู้ผลิตแบบเดี่ยวเพื่อแสดงถึงความสามารถในการผลิตสินค้าเกษตรได้ตามมาตรฐาน มกษ. GAPตามขอบข่ายการรับรองที่ระบุในใบรับรอง
13.การรับรองแบบกลุ่ม หมายถึง การที่หน่วยรับรองออกใบรับรองแก่ผู้ผลิตแบบกลุ่มเพื่อแสดงถึงความสามารถในการผลิตสินค้าเกษตรได้ตามมาตรฐาน มกษ. GAPตามขอบข่ายการรับรองที่ระบุในใบรับรอง
14. เครื่องหมายรับรอง(Certification Mark) หมายถึงเครื่องหมายสำหรับผู้ผลิตที่ได้รับการรับรองจากหน่วยรับรอง ทั้งนี้ผู้ผลิตจะต้องปฏิบัติตามแนวทางการใช้เครื่องหมายรับรองที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งออกตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตรพ.ศ.2551
15. มาตรฐาน หมายถึง มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีด้านพืช ปศุสัตว์และประมงที่กำหนดโดยพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ.2551
16. ผู้รับจ้างช่วง หมายถึง ผู้รับงานที่อยู่ภายใต้ข้อตกลงระหว่างผู้ผลิตและผู้รับจ้างช่วงซึ่งต้องปฏิบัติภายใต้ข้อกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี
17.รายการการตรวจประเมิน (Checklist) ที่ระบุตามข้อกำหนดในการผลิตแบบกลุ่ม หมายถึง รายการที่จัดทำขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจประเมินฟาร์ม ตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ซึ่งจะต้องครอบคลุมทุกข้อกำหนด และมีแนวทางการตัดสินใจที่เหมาะสม
แหล่งที่มา https://www.alro.go.th/alro_th/article_attach/article_attach_201812031543828668.pdf